สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน
1.ด้านกายภาพ
1.1 ที่ตั้งของหมู่บ้านหรือตำบล
ที่ตั้ง องค์การบริหารส่วนตำบลถ้ำวัวแดง ตั้งอยู่บ้านเลขที่ 555 หมู่ที่ 5 ตำบลถ้ำวัวแดง อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ
ได้รับยกฐานะเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540 อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 300 กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดชัยภูมิ 93 กิโลเมตร ห่างจากอำเภอหนองบัวแดง 37 กิโลเมตร เนื้อที่ มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 194.50 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 121,562.5 ไร่ และมีเขตติดต่อกับตำบลต่างๆ ดังนี้
ทิศเหนือ เขตติดต่อกับตำบลวังชมภู
ทิศตะวันออก เขตติดต่อกับตำบลท่าใหญ่
ทิศตะวันตก เขตติดต่อกับตำบลบ้านเจียง
ทิศใต้ เขตติดต่อกับเทือกเขาพังเหย
1.2 ลักษณะภูมิประเทศ
ประกอบด้วยทางทิศเหนือ ถัดลงมาเป็นที่ราบเขาแบบลูกคลื่นทอดตัวลงสู่ตอนใต้ของตำบล และเป็นแหล่งกำเนิดของลำน้ำเจียงบนเทือกเขาพญาฝ่อ ทำให้ลำน้ำเจียงและลำน้ำเจาไหลผ่านพื้นที่ในตำบล ตลอดทั้งมีลำห้วยต่าง ๆ อีกมากมาย จึงเป็นการเหมาะที่ประชากรได้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม ส่วนทางทิศใต้และทิศตะวันออกเฉียงใต้เป็นลูกคลื่นสลับกับพื้นที่ค่อนข้างเรียบถึงราบลุ่มริมฝั่งน้ำ จึงมีการใช้ประโยชน์จากที่ดินในการทำไร่และทำนา
1.3 ลักษณะภูมิอากาศ
มี 3 ฤดู ได้แก่ ฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว
1.4 ลักษณะของดิน
ลักษณะของดินในพื้นที่เป็นดินร่วน ดินเหนียว พื้นราบเหมาะแก่การเพาะปลูกข้าว
1.5 ลักษณะของแหล่งน้ำ
มีแหล่งน้ำธรรมชาติไหลผ่าน ได้แก่ ลำน้ำเจียง ลำน้ำเจา
1.6 ลักษณะของไม้และป่าไม้
ในพื้นที่มีทรัพยากรป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์
2.ด้านการเมืองการปกครอง
2.1 เขตการปกครอง
องค์การบริหารส่วนตำบลถ้ำวัวแดง มีจำนวนหมู่บ้านในที่อยู่ในเขตตำบลถ้ำวัวแดง อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ จำนวน 12 หมู่บ้าน
2.2 การเลือกตั้ง
การเลือกตั้งผู้บริหารและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึงปัจจุบัน มีจำนวน 12 หมู่บ้าน หากมีการเลือกตั้งในครั้งหน้า จะมี
ผู้บริหารท้องถิ่น (นายกองค์การบริหารส่วนตำบล) จำนวน 1 คน จะมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วน
ตำบล หมู่บ้านละ 2 คน 12 หมู่บ้าน รวมเป็น 24 คน
3.ประชากร
3.1 ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร
- ประชากรทั้งสิ้น จำนวน 10,336 คน แยกเป็นชาย 5,206 คน หญิง 5,130 คน
- จำนวนครัวเรือนทั้งสิ้น 3,343 ครัวเรือน
3.2 ช่วงอายุและจำนวนประชากร
ประชากรส่วนใหญ่อยู่ในวัยทำงาน 35 – 55 ปี
4.สภาพทางสังคม
4.1 การศึกษา
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียน จำนวน 6 แห่ง
- โรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 6 แห่ง
- โรงเรียนมัธยมศึกษา (ขยายโอกาส) จำนวน 3 แห่ง
- ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน จำนวน 12 แห่ง
- หอกระจ่ายข่าว จำนวน 12 แห่ง
- การศึกษานอกระบบ(กศน.ตำบลถ้ำวัวแดง) จำนวน 1 แห่ง
4.2 สาธารณสุข
องค์การบริหารส่วนตำบลถ้ำวัวแดง มีสถานบริการสาธารณสุข (โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล) จำนวน 2 แห่ง ดังนี้
- รพ.สต. ตำบลถ้ำวัวแดง
- รพ.สต. บ้านหัวนาคำ
อัตราการมีและการใช้ส้วมราดน้ำ ร้อยละ 100
4.3 อาชญากรรม
- ลักทรัพย์
4.4 ยาเสพติด
- ยาบ้า
4.5 การสังคมสงเคราะห์
- คนชรา คนพิการ ผู้ป่วยเอดส์ ผู้ด้อยโอกาส
5. ระบบบริการพื้นฐาน
5.1 การคมนาคมขนส่ง
- คมนาคมทางบก มีถนนลาดยางแอลฟัลท์ ถนนคอนกรีตเสริมเหล็กและถนนลูกรัง
5.2 การไฟฟ้า
- มีระบบไฟฟ้าเข้าถึงทุกหมู่บ้าน จำนวน 3,343 ครัวเรือน
5.3 การประปา
- มีระบบประปาหมู่บ้านครบทั้ง 12 หมู่บ้าน
5.4 โทรศัพท์
- ปัจจุบันทุกหมู่บ้านใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นส่วนใหญ่
5.5 ไปรษณีย์หรือการสื่อสารหรือการขนส่ง และวัสดุ ครุภัณฑ์
- ที่ทำการไปรษณีย์ที่ใกล้ที่สุด ได้แก่ ไปรษณีย์อำเภอหนองบัวแดง
6. ระบบเศรษฐกิจ
6.1 การเกษตร
- ราษฎรส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 80 ประกอบอาชีพทำการเกษตรกรรมได้แก่ทำนา ปลูกข้าว ไร่อ้อย มันสำปะหลัง ปลูกผัก ที่เหลือประกอบอาชีพส่วนตัวและรับจ้าง
6.2 การประมง
- ไม่มี
6.3 การปศุสัตว์
- การปศุสัตว์ คือ การเลี้ยงโค การเลี้ยงสุกร และไก่ไช่ ในทุกหมู่บ้าน
6.4 การบริการ
- ร้านค้าทั่วไป 46 แห่ง
- ตลาด 1 แห่ง
- ปั้มน้ำมันและก๊าซ 17 แห่ง
- โรงสีข้าวขนาดเล็ก 12 แห่ง
- ร้านซ่อม/ต่าง ๆ 8 แห่ง
6.5 การท่องเที่ยว
- หน่วยอนุรักษ์พันธ์สัตว์ป่าถ้ำผาทิพย์ บ่อโขโหล
6.6 อุตสาหกรรม
- ไม่มี
6.7 การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ
- วิสาหกิจชุมชนกลุ่มกล้วยหอมทอง วิสาหกิจชุมชนกลุ่มปลูกเสาวรส
6.8 แรงงาน
- ราษฎรส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 80 ประกอบอาชีพทำการเกษตรกรรมได้แก่ทำนา ปลูกข้าว ไร่อ้อย มันสำปะหลัง ปลูกผัก ที่เหลือประกอบอาชีพส่วนตัวและรับจ้าง
7. เศรษฐกิจพอเพียงท้องถิ่น (ด้านการเกษตรและแหล่งน้ำ)
7.1 ข้อมูลพื้นฐานของหมู่บ้านหรือชุมชน
มีจำนวน 12 หมู่บ้าน และมีข้อมูลพื้นฐานแต่ละหมู่บ้านดังนี้
(ข้อมูล ณ เดือน เมษายน 2564)
ที่
|
บ้าน
|
ครัวเรือน
|
จำนวนประชากร
|
รวม
|
หมายเหตุ
|
ชาย
|
หญิง
|
1
|
บ้านบุสีเสียด
|
69
|
69 |
107
|
206 |
|
2
|
บ้านโนนถาวร
|
257
|
416
|
418
|
834
|
|
3
|
บ้านโนนเตาไห
|
246 |
472
|
433
|
905
|
|
4
|
บ้านโนนลาน
|
326 |
607
|
569
|
1,176
|
|
5
|
บ้านบำเหน็จสุวรรณ
|
421 |
608
|
612
|
1,220
|
|
6
|
บ้านหนองหอยปังสามัคคี
|
330
|
476 |
464
|
940
|
|
7
|
บ้านหัวนาคำ
|
302 |
456
|
502 |
958
|
|
8
|
บ้านบ่อทอง
|
286
|
405 |
395 |
800 |
|
9
|
บ้านห้วยคลองนา
|
457
|
643
|
675
|
1,318
|
|
10
|
บ้านภูผาทอง
|
172
|
323
|
284
|
607
|
|
11
|
บ้านวังทอง
|
349
|
469
|
442
|
911
|
|
12
|
บ้านหนองหอยปังพัฒนา
|
128
|
241
|
230
|
471
|
|
รวมทั้งสิ้น
|
3,343
|
5,215
|
5,131
|
10,346
|
|
7.2 ข้อมูลด้านการเกษตร
- ราษฎรส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 80 ประกอบอาชีพทำการเกษตรกรรมได้แก่ทำนา ปลูกข้าว ไร่อ้อย มันสำปะหลัง ปลูกผัก เช่น หอมแดง พริก
7.3 ข้อมูลด้านแหล่งน้ำทางการเกษตร
- แหล่งน้ำธรรมชาติไหลผ่าน ได้แก่ แม่น้ำเจียง แม่น้ำเจา
7.4 ข้อมูลด้านแหล่งน้ำกิน น้ำใช้ (หรือน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค)
- มีระบบประปาบาดาลหมู่บ้าน จำนวน 12 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 1-12
- มีระบบน้ำดื่ม RO จำนวน 1 แห่ง ได้แก่ หมู่ที่ 5
8. ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม
8.1 การนับถือศาสนา
- ในเขตพื้นที่ตำบลถ้ำวัวแดง ประชาชนนับถือศาสนา 2 ศาสนา คือ ประชาชนนับถือศาสนาพุทธ ประมาณ ร้อยละ 98 และประชาชนนับถือศาสนาคริตส์ ประมาณร้อยละ ๒ โดยมีข้อมูลศาสนสถานดังนี้
- โบสถ์คริสต์ 2 แห่ง
- วัด/สำนักสงฆ์ 16 แห่ง
8.2 ประเพณีและงานประจำปี
ประเพณี วัฒนธรรมท้องถิ่นที่สำคัญ มีดังนี้
- ประเพณีวันขึ้นปีใหม่
- ประเพณีงานบุญเดือนสาม
- ประเพณีวันสงกรานต์
- ประเพณีบุญบั้งไฟเดือนหก
- ประเพณีทอดเทียนเข้าพรรษา
- ประเพณีวันออกพรรษา
- ประเพณีงานลอยกระทง
8.3 ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น
ภูมิปัญญาท้องถิ่น ประชาชนในเขตตำบลถ้ำวัวแดง ได้อนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สำคัญๆ ได้แก่ วิธีการทำเครื่องจักสานใช้สำหรับในครัวเรือน การเลี้ยงไหม การทอผ้าไหม การทอเสื่อกก และวิธีการจับปลาธรรมชาติ
ภาษาถิ่น ประชาชนส่วนใหญ่มากกว่าร้อยละ ๙๕ พูดภาษาท้องถิ่น คือ ภาษาอีสาน
8.4 สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก
-ข้าวไรซ์เบอรี่ กล้วยหอมทอง
9. ทรัพยากรธรรมชาติ
9.1 น้ำ
- น้ำที่ใช่ในการอุปโภค-บริโภค เป็นน้ำที่ได้จากน้ำฝน และน้ำดิบจากลำน้ำเจียง ลำน้ำเจา ซึ่งจะต้องนำมาผ่านกระบวนการของระบบประปา สำหรับน้ำใต้ดินมีปริมาณน้อยไม่สามารถนำขึ้นมาใช้ให้พอเพียงได้
9.2 ป่าไม้
- องค์การบริหารส่วนตำบลถ้ำวัวแดง มีทรัพยากรป่าไม้ ที่อุดมสมบูรณ์ ทำให้เป็นแหล่งกำเนิด ลำน้ำเจียง และลำน้ำเจา บนเทือกเขาพญาฝ่อไหลลงสู่ที่ราบผ่านพื้นที่ ขององค์การบริหารส่วนตำบลถ้ำวัวแดง ทำให้ป่าไม้เกิดความชุ่มชื้น อุดมสมบูรณ์ตลอดปี
9.3 ภูเขา
- ลักษณะพื้นที่ภูเขาสลับซับซ้อน และเป็นที่ราบสูง ประกอบด้วยเทือกเขาสำคัญ คือ เทือกเขาเพชรบูรณ์ เขาพังเหย
9.4 คุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติ
- พื้นที่ป่า ยังคงความอุดมสมบูรณ์ แต่บางพื้นที่ถูกบุกรุกทำลายป่า
- ลำน้ำเจียง และลำน้ำเจา ซึ่งเป็นแม่น้ำสายสำคัญ และแหล่งน้ำธรรมชาติอื่น จึงเป็นการเหมาะที่ประชากรได้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม
|